วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Homework2


Cosci รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่าย




TOPOLOGY

              คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ การเดินสายสัญญาญคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อหลักได้ดังนี้
      1.   เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
           เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ  ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม  

ข้อเสีย คือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
           2.    โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
         เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวน คือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้


        3.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network)
          เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วน
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ


4.  โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)
         เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว,วงแหวน และบัส เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน
5.     โทโปโลยีแบบ MESH         
             เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
 
Protocol
โปรโตคอลคืออะไร
            ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
โปรโตคอล IPX/SPX
          ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell ซึ่งทำการพัฒนามาจากตัวโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation ซึ่งโครงสร้างเมื่อทำการเปรียบเทียบกับ OSI Model ดังรูป

          ตัวโปรโตคอล IPX/SPXแบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลหลักคือ Internetwork Packet Exchange   ( IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามาตรฐาน OSI Model มีกลไกการส่งผ่านข้อมูลแบบ connectionless,unrerelibleหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูล โดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวร ( host , เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการใดๆในเครือข่าย ) และไม่ต้องการรอสัญญานยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทาง โดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลตรงข้ามกับโปรโตคอล IPXคือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อนและมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสอบสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง
โปรโตคอล NetBEUI
         โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย
เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอล TCP/IP และ NetBUEI
โปรโตคอล AppleTalk
          จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่องพิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัทผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องไปหาซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
โปรโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยเฉพาะขึ้นมา ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้ สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิมเรียกว่าเป็นโปรโตคอล Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring ได้ โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
          โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP
ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ
Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable)
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า IP Address ( Internet Protocol Address )

Electronic Data Interchange (EDI)
                         หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่ใช้อยู่เป็นประจำในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบมาตรฐานที่ใช้จะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเลือกมาจากมาตรฐานที่พัฒนาจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในการออกมาตรฐานต่าง ๆ เช่น American National Standard Institute (ANSI) หรือ International Standards Organization (ISO) EDI เป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เอกสารจำพวกใบสั่งซื้อ, ใบเสนอราคา, ใบกำกับสินค้า และเอกสารอื่น ๆ เมื่อนำ EDI มาใช้แทนได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่น ๆ EDI ไม่ได้เป็นเป้าหมายโดยตัวของมันเอง เมื่อได้ใช้งานจะเกิดผลประโยชน์ทางด้าน IT เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการคีย์ข้อมูล, ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น, ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น และลดงานทางด้านเอกสารซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                Electronic Data Interchange (EDI) คือ การติดต่อสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กับคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้ที่กระทำการค้าในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยต้องมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
            EDI ได้พัฒนาขึ้น และ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้นำด้านธุรกิจทุกวันนี้ เนื่องมาจากรูปแบบ และ การยอมรับอย่างกว้างขวาง EDI ช่วยในการเปลี่ยนจากการใช้แรงงาน และ รายการค้าที่ต้องใช้กระดาษ เพื่อให้มีต้นทุนต่ำ

ส่วนประกอบสำคัญของระบบ EDI

1.   Hardware (Computer)
2.   Telecommunication Networks
3.   Communication Software and Translation Software

1.   Hardware
Hardware หมายรวมถึงคอมพิวเตอร์ทุกประเภท และ อุปกรณ์ข้างเคียงของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการติดตั้ง EDI Communication โดยจะเป็นตัวช่วยในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคู่การค้า (Trading Partners )ระบบ EDI สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่นเมนเฟรม หรือ Personal Computer(PC)
2.    Telecommunication Networks
Telecommunication Networks จะใช้สายโทรศัพท์ (Telephone Line) ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ส่ง และ ผู้รับ โดยอาจติดต่อกันผ่านทางดาวเทียม
3.   Communication Software and Translation Software
Communication Software and Translation Software ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล และ รับข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนหนึ่ง ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อื่น เขาต้องมี Communication Software และ Translation Software
Translation Software จะช่วยในการใส่รหัส (encoded) และ ถอดรหัส (decoded) ข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ หมายความว่าต้องมีมาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ของบริษัท และ คู่การค้าสามารถเข้าใจได้

การติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบ EDI


            EDI  หรือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค..1960 แต่ในช่วงแรกนั้นการใช้งานจะจำกัดอยู่เพียงบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเท่านั้น เนื่องจากมีราคาสูงมาก ในระบบส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อระหว่างคู่การค้า บริษัทในเครือ หรือ ผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบ โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เครือข่ายที่ว่านี้เราจะเรียกว่า VAN(Value Added Network) หรือ เครือข่ายเสริมคุณค่าทางธุรกิจ เครือข่าย VAN ที่สร้างขึ้นมาเองนี้จะมีรูปแบบการส่งข้อมูลที่แน่นอน มีความเชื่อถือได้ และ มีความซับซ้อนของการส่งข้อมูลมากกว่าระบบที่ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
            ระบบ EDI จะติดตั้ง หรือ ให้บริการโดยบริษัทที่ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าผู้ให้บริการระบบ EDI (EDI Service Provider) โดยจะให้บริการดูแลรักษาเครือข่าย VAN พร้อมทั้งจัดตั้งกล่องรับอีเมล์สำหรับบริษัทแต่ละราย ซึ่งกล่องรับอีเมล์นี้จะเป็นจุดที่บริษัทส่งผ่านข้อมูลถึงกันในรูปแบบข้อความ EDI โดยแต่ละบริษัทต้องตกลงกันไว้ก่อนถึงรายละเอียดของข้อมูล หรือ แบบฟอร์มที่จัดส่ง ซึ่งข้อมูล หรือ แบบฟอร์มจะส่งผ่านเครือข่าย VAN ในรูปของอีเมล์ โดยแต่ละบริษัทจะต้องมีซอฟต์แวร์ที่คอยจัดการแปลงอีเมล์ให้เป็นข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อนำไปประมวลผล และ จัดเก็บลงในระบบฐานข้อมูลของแต่ละบริษัทอีกทีหนึ่ง
            ข้อจำกัดของระบบ EDI บนเครือข่าย VAN
ในอดีต การติดตั้ง EDI จะต้องมีการเจรจาทำสัญญาระหว่างกัน โดยใช้สัญญาระหว่างคู่การค้า หรือ TPA (Training Partner Agreement) ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการส่งผ่านข้อมูลรูปแบบใดระหว่างกัน โดยจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ซึ่งการทำสัญญา และ ตกลงรายละเอียดของระบบ EDI แต่ละครั้งนั้นใช้เวลานาน และ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เรากล่าวโดยสรุปได้ว่าระบบ EDI ในอดีตมีข้อจำกัดอยู่ที่ขั้นตอนที่ใช้เวลานานมากกว่าจะตกลงกันได้ถึงรูปแบบของข้อมูลรายการว่าจะมีข้อมูลอะไร และ รูปแบบใด ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลานานมากกว่าจะตกลงกันได้ถึงรูปแบบของข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองฝ่าย ทำให้ระบบ EDI แบบเดิมนั้นไม่เหมาะกับสภาพของธุรกิจในปัจจุบัน
            สำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงคู่การค้าอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้ในการส่งผ่านข้อมูลของระบบ EDI (แทนการสร้างเครือข่ายส่วนตัวเหมือนแต่ก่อน) ทำให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และ บำรุงรักษาระบบถูกมากเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น บริษัทขนาดกลาง และ ขนาดเล็กจึงสามารถติดตั้งระบบ EDI ในบริษัทได้ ระบบ EDI ในปัจจุบันได้พัฒนาให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น และ สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น สามารถรับส่งแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิคส์ ระหว่างบริษัทจากโปรแกรมเว็บบราวเซอร์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เป็นต้น
            ในขณะนี้ แต่ละกลุ่มธุรกิจได้ทำการกำหนดมาตรฐานแบบฟอร์มข้อมูลสำหรับกลุ่มธุรกิจของตัวเองขึ้นมา เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการติดต่อระหว่างคู่ค้าในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดต่อระหว่างคู่ค้าที่อยู่ต่างกลุ่มธุรกิจกัน จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสร้างมาตรฐานกลางขึ้นมา ที่เราเรียกว่า Open EDI ซึ่งจะกำหนดรูปแบบข้อมูลเพื่อให้การส่งข้อมูลระหว่างบริษัทโดยใช้ EDIทำได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย นอกจากนี้ การติดตั้งระบบยังสามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่ใหญ่จนเล็ก สามารถนำ EDI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตนเองได้
            การใช้ EDI จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างบริษัทเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น เราอาจใช้ EDI ในการส่งข้อมูลระหว่างฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย และ ฝ่ายจัดส่งสินค้า เพื่อให้กระบวนการสั่งซื้อสินค้า และ การชำระเงินเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายด้านเอกสาร และ บุคลากร ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ การจัดหาวัตถุดิบ หรือ การโอนชำระเงินของลูกค้า หรือ ระหว่างบริษัทคู่ค้า
            นอกจากนี้ EDI ยังสามารถนำไปใช้ในงานอื่นได้อีก เช่น การจัดระบบสินค้าคงคลังที่จะทำการสั่งซื้อสินค้าโดยอัตโนมัติเมื่อวัตถุดิบกำลังจะขาด การจัดระบบการสั่งซื้อให้ได้ประโยชน์สูงสุด หรือ จัดการข้อมูลของระบบจัดส่งสินค้าเป็นต้น สำหรับระบบ EDI ที่เกี่ยวกับการชำระเงินโดยตรงนั้นเราจะเรียกว่า FEDI (Financial EDI) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับระบบชำระเงินอื่นๆ แต่จะมุ่งเน้นมาใช้งานในรายการทางการเงินระหว่างบริษัทคู่ค้าที่ทำธุรกิจระหว่างกัน
โดยทั่วไประบบ FEDI มักจะติดตั้งระหว่างธนาคาร กับ องค์กรธุรกิจ เพื่อที่ทางธนาคารจะสามารถรับทำรายการอนุมัติการโอนชำระเงิน และ รายการทางการเงินต่างๆได้ สำหรับในระบบการโอนชำระเงินนั้น ธนาคารทั่วไปจะมีเครือข่ายระหว่างธนาคารที่คอยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเช็ค หรือ ธุรกรรมการเงินต่างๆ โดยเฉพาะอยู่แล้ว เช่น CHIPS หรือ SWIFT และ ปัจจุบันธนาคารบางแห่งในสหรัฐฯ ก็เปิดให้บริการที่คล้ายกับเครือข่าย VAN สำหรับลูกค้า โดยจะเชื่อมต่อเข้ากับ FEDI อีกทีหนึ่ง แทนการที่ลูกค้าจะต้องมีเครือข่าย VAN ของตนเอง ทำให้บริษัทสามารถทำรายการธุรกรรมการเงินต่างๆโดยตรงจากสำนักงานของบริษัท แทนการให้พนักงานมาทำรายการต่างๆที่ธนาคารเหมือนแต่ก่อน
            เนื่องจากค่าใช้จ่ายของการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถูกกว่าการสร้างเครือข่าย VAN ของตนเองอย่างมาก ทำให้บริษัท และ สถาบันการเงินเริ่มหันมาสร้างระบบ EDI บนอินเตอร์เน็ตกันเป็นการใหญ่ ธนาคารชั้นนำในสหรัฐฯ เช่น Bank of America หรือ Chase Manhattan มีโครงการศึกษาวิเคราะห์อย่างจริงจังเพื่อทดสอบการทำรายการ EDI บนอินเตอร์เน็ตเปรียบเทียบกับเครือข่าย VAN โดยผลที่ออกมาค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจสำหรับการทำรายการ EDI บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ข้อเสียของการทำรายการ EDI บนอินเตอร์เน็ต
การทำรายการ EDI บนอินเตอร์เน็ต มีข้อเสียในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ความเชื่อถือได้ในการส่งข้อมูล และ ความแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ของการทำรายการในอินเตอร์เน็ตที่อยู่เหนือการควบคุมของทางบริษัท
ในหน้าถัดไป จะแสดงถึง ตารางเป็นข้อเปรียบเทียบของระบบ EDI บนอินเตอร์เน็ต และ ระบบ EDIบนเครือข่าย VAN และ รูปภาพแสดงการเปรียบเทียบการไหลผ่านของข้อมูลที่ใช้กระดาษ และ การไหลผ่านของข้อมูลที่ใช้ระบบ EDI
ตารางเปรียบเทียบระบบ EDI บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับบนเครือข่าย VAN

จุดเปรียบเทียบ
อินเตอร์เน็ต
Value-Added Network
การรับส่งข้อความใน mailbox
ทำไม่ได้
ทำได้
ความปลอดภัยของเครือข่าย
ทำไม่ได้
ทำได้
ความเชื่อถือ หรือ มั่นใจได้ของเครือข่ายในการรับส่งข้อมูล
ไม่มี
มี
ความเชื่อถือได้ของผู้ให้บริการระบบ (Internet Service Provider, EDI Service Provider)
จำกัด
มี
การให้บริการลูกค้า และ การดูแลระบบ
จำกัด
มี
การทำรายการแบบตอบโต้ (Interactive)
ทำได้
มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
การใช้ระบบเพื่อหาข้อมูลอื่น
มี
จำกัด หรือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
การจัดตั้งระบบเพื่อเป็นศูนย์บริการให้ข้อมูลเพิ่มเติม
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

การรักษาความปลอดภัยของระบบ EDI

            ในระบบข้อมูลสารสนเทศ จำเป็นต้องมีการรักษาความปลอดภัย เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้มากได้แก่
·       User name / Password
เป็นวิธีพื้นฐานของเครือข่ายซึ่งผู้ใช้จะมีสิ่งที่ใช้ในการระบุตัวผู้ใช้เองในเครือข่าย EDI โดยการใส่ User name / Password ที่ตั้งไว้ ถ้าใส่ไม่ถูก ก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
·       Call-Back
บนเครือข่าย EDI สามารถรู้ตัวผู้ใช้จาก User name / Password ของผู้ใช้คนนั้น Terminate the call และ ติดต่อกับผู้ใช้ที่สถานที่ที่ระบุก่อนหน้า และ จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้โทร
·       Data Encryption
      วิธีนี้จะนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลมีลักษณะค่อนข้างพิเศษ คือเป็นข้อมูลที่คล้าย หรือ เหมือนกับระบบรหัสของทหาร
สำหรับ application ส่วนใหญ่ วิธี User name / Password เหมาะสมที่สุด สำหรับวิธี Call-Backที่ปลอดภัยกว่า จะมีต้นทุนที่มากกว่าสำหรับความปลอดภัยที่พิเศษขึ้น

ประโยชน์ของ EDI ต่อธุรกิจ

            ประโยชน์ของ EDI นอกจากการพัฒนาในด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่การค้าแล้ว ยังช่วยเพิ่มแนวทางในการดำเนินธุรกิจ บริษัทหลายบริษัทได้เปรียบในการแข่งขันจากการใช้ EDI โดย EDI ยังได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่มีบทบาท ไม่ใช่แค่ช่วยลด overhead cost หรือ การใช้กระดาษ
            ในปัจจุบัน บริษัทที่ทำการค้า นำ EDI มาใช้เพื่อสร้างความพอใจแก่ลูกค้า และ Supplier สำหรับบริษัทที่ใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำ
            ประโยชน์ของ EDI สามารถสรุปได้ดังนี้:
1.   ประหยัดต้นทุนจากการผิดพลาด และ การซ้ำซ้อนของการคีย์ข้อมูล
2.   ลดเวลาการสั่งซื้อสินค้า ลดจำนวนวันในการสั่งซื้อทั้งจากลูกค้า หรือ การสั่งซื้อถึง Supplier
3.   ลดเวลา และ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ใช้เอกสาร
4.   ความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล
5.   เพิ่มความถูกต้องในขบวนการจัดหา และ ได้มาซึ่งวัตถุดิบ
6.   การบริหาร และ การดำเนินงานที่เร็วขึ้น
7.   ผู้ซื้อให้เวลากับการเลือก Supplier และ ทำกิจกรรมที่มีคุณค่าอื่นๆ เพราะมีข้อมูลระหว่างคู่การค้ามากขึ้น
8.   พัฒนาการบริการลูกค้า
9.   การตัดสินใจที่ดีขึ้น
10.  เพิ่มรายได้ จากการขยายตลาด
11.  รักษารายได้ที่มีอยู่ โดยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่
12.  ลดต้นทุน โดยลด หรือ ขจัดการใช้กระดาษในการทำเอกสาร และ การเตรียมการเก็บ และ การค้นหา

ตัวอย่างประโยชน์ของ EDI ต่อธุรกิจ

            กรณีของ R.J. REYNOLDS TOBACCO COMPANY        
            ผลจากการใช้ระบบ EDI ทำให้ต้นทุนการสั่งซื้อของบริษัทลดลงมาก ดังจะเห็นได้จาก $75 ต่อ 1 การสั่งซื้อโดยใช้กระดาษ เป็น $0.93 ต่อ 1 การสั่งซื้อผ่านระบบ EDI หรือ จากการที่บริษัทสามารถประหยัดได้มากกว่า $5,000,000 ต่อต้นทุนสินค้าคงคลังใน 1 ปี
      กรณีของ BOEING COMPANY
      ผลจากการใช้ระบบ EDI ทำให้บริษัทสามารถลดจำนวนเอกสารที่เป็นกระดาษได้มากถึง1,141,831 รายการในปี ค.. 1998 นั่นหมายรวมถึงความสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระดาษ และ ความรวดเร็วในการสื่อสารระหว่างบริษัท กับ ลูกค้า และ  Supplier

อุปสรรคของ EDI ต่อธุรกิจ

1.    เนื่องมาจากระบบ  EDI  มีเงื่อนไขสำคัญในการทำงานว่า  มาตรฐานของคอมพิวเตอร์ของคู่การค้า  ต้องมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้
2.    ในการสื่อสารด้วยระบบ  EDI  ถ้าเป็นระหว่างประเทศ  ภาษาอาจกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งได้  เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีภาษาเป็นของตนเอง  เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ภาษากลาง  คือ  ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
3.     ระบบ  EDI  ยังไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ  เนื่องจากระบบ  EDI  ใช้กับการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ต้องมีแบบฟอร์มมาตรฐานเท่านั้น  และสำหรับเรื่องการโอนเงิน  ระบบ  EDI  ไม่สามารถทำได้  จะต้องมีระบบ  EFT  (ELECTRONIC FUND  TRANSFER)  หรือระบบ  FEDI  ( FINANCIAL EDI )  จึงจะสามารถทำการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
4.    การติดตั้งระบบ  EDI  นั้นบริษัทจะต้องสร้างเครือข่ายส่วนตัว ( VAN ) ขึ้นมาเอง  ซึ่งการลงทุนสูงและมีราคาแพง  การใช้งานของ  EDI  จึงจำกัดอยู่แค่บริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น
5.    เนื่องจากการติดต่อสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  อาจมีความไม่ปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงได้   เช่น  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีการเจาะเข้าสู่ระบบเพื่อดูความลับของบริษัท   จึงจำเป็นต้องเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย  เพื่อควบคุมในการใช้ระบบ  EDI

ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในทางปฏิบัติ

1.  การวางแผน และ การบริหารที่เป็นทางการ
การวางแผน และ การบริหารที่เป็นทางการ ก่อให้เกิดการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวประสานปัจจัยอื่นๆ
2.  รัฐบาล และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาล และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการเอื้อให้เกิดความสำเร็จโดยการให้ความช่วยเหลือธุรกิจภายในประเทศในการนำระบบ EDI มาใช้กับกิจการ
3.  ศุลกากร

ศุลกากร เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จเนื่องจาก :

-    เป็นขั้นตอนสำคัญของการ clear สินค้านำเข้า และ ส่งออก
-    ช่วยกระตุ้นให้เกิดการทำรายการค้าเพิ่มขึ้น เพื่อสิทธิประโยชน์ในด้านการเสียภาษี
4.  ลูกค้า และ ผู้ใช้งาน
ลูกค้า และ ผู้ใช้งาน มีส่วนทำให้ระบบ EDI ประสบความสำเร็จ เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
5.  ทัศนคติของสังคม
ทัศนคติของสังคม โดยเฉพาะทัศนคติของผู้ประกอบการ มีผลอย่างมากต่อความสำเร็จ เนื่องจากถ้าผู้ประกอบการทุกรายยอมรับระบบ ระบบก็จะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
6.  ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม
ถ้าผู้ใช้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม ก็จะสามารถทำธุรกรรมผ่านระบบ EDIได้ ทำให้การนำระบบ EDI มาใช้มีความแพร่หลายขึ้น
7. ทุนที่เพียงพอ
ทุนที่เพียงพอ เพื่อลงทุนในการนำระบบ EDI มาใช้ รวมทั้งในการอบรมการใช้โปรแกรม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบประสบความสำเร็จ
8.  ข้อความมาตรฐาน
ข้อความมาตรฐานเช่น EDIFACT ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

ข้อสรุป  และความคิดเห็น

            ในอดีตการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่การค้า  และองค์กรทำได้ยาก  และมีความผิดพลาดสูง  จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อสื่อสาร  เช่น  การสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์  ซึ่งอาจใช้เวลาและอาจมีการผิดพลาดหรือตกหล่นของข้อมูลจากการส่ง  และอาจเสียเวลาในการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ้ำซ้อน  เมื่อมีการนำระบบ  EDI  มาใช้ในการทำธุรกิจ  ก็ทำให้องค์กรสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวกขึ้น  และมีโอกาสในการทำการค้าที่มากขึ้น  ช่วยลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร  แต่ระบบนี้ก็มีข้อจำกัดในเรื่อง  การที่จำเป็นต้องมีแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐาน  และการสร้างเครือข่ายที่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูง  รวมทั้งระบบการโอนเงินซึ่งไม่สามารถทำได้  ในปัจจุบันจึงได้มีการนำระบบ  EFT  หรือ FEDI   มาใช้ในกิจกรรมการโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์   จนกลายเป็นการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือ  E- COMMERCE   ซึ่งเป็นการหันมาสร้างระบบ  EDI  บนอินเตอร์เน็ตเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า  และมีเครือข่ายที่คลอบคลุมทั่วโลก  ทำให้การใช้ระบบ  EDI  บนอินเตอร์เน็ตได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง
            ดังนั้น  จะถือได้ว่าระบบ  EDI  เป็นรากฐานในการพัฒนาไปสู่  E-COMMERCE  ในการทำธุรกิจซึ่งครอบคลุมเกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการทำการค้าเชิงพาณิชย์


สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

            ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่าน จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูล ที่สื่อกลางนั้น ๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือ ที่เรียกกันว่าแบบด์วิดท์ (bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวน
บิตข้อมูลต่อวินาที (bit per second : bps) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
สื่อกลางประเภทมีสาย

    
           เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
              มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน 

สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
               มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลี่ยวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน 
สายโคแอคเชียล (Coaxial)
             สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
            สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า  "สายโคแอก"  จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่าและราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่  ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่  2  ชั้น  ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง  ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา  เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน  สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย  มี  2  แบบ คือ  75  โอมห์ และ  50 โอมห์  ขนาดของสายมีตั้งแต่  0.4 - 1.0  นิ้ว   ชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี  เปลือกฉนวนหนาทำให้สายโคแอก
มีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้  นอกจากนั้นสาย  โคแอกยังช่วยป้องกัน  "การสะท้อนกลับ" (Echo)  ของเสียงได้อีกด้วยและลดการ รบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกัน
           สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง  1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์  แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี  คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อก  สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2  กม.  ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง  6 เท่า  โดยไม่ต้องเครื่องทบทวน  หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย  ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ  FDM  สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง)  ได้ถึง  10,000  ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง  50  เมกะบิตต่อวินาที  หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที  ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6  กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวี  และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก)  สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น  หรือ  LAN (ดิจิตอล)  หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์    

ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
              ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง

              หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล)  ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน  จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ ของแสง ผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน  ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง
                จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน  จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลต ผ่านตัวไดโอดซึ่งมี  2  ชนิดคือ  LED  ไดโอด  (light Emitting Diode)  และเลเซอร์ไดโอด หรือ  ILD ไดโอด  (Injection Leser Diode)  ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้  หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้  ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์  ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก  เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode)  ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม  จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต  เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ
               สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์  (BW)  ได้กว้างถึง  3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง  1 จิกะบิต ต่อวินาที  ภายในระยะทาง  100 กม.  โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย  สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง  20,000-60,000  ช่องทาง  สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน  10 กม.  จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000  ช่องทางทีเดียว  
 
ข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือ

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
  

สื่อกลางประเภทไม่มีสาย

ระบบไมโครเวฟ  (Microwave System)
               การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี)  ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่ง  แต่ละหาจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30-50  กม.  ระยะห่างของแต่ละหอคำนวณง่าย ๆ ได้จาก
สูตร
                  d  = 7.14 (1.33h)1/2 กม.
         เมื่อ     d = ระยะห่างระหว่างหอ  h = ความสูงของหอ   

 

         การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา  แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล  ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  10 ฟุต  สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง 
(2-10 จิกะเฮิรตซ์)  เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ  แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง  หรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด  พายุหรือฝน  ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน  และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล
          ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย  สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร  โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายไฟเบอร์ออปติก  หรือการสื่อสารดาวเทียม  อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า  และติดตั้งได้ง่ายกว่า  และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย  อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม  คือราคาที่ถูกกว่า

การสื่อสารด้วยดาวเทียม  (Satellite Transmission)
             ที่จริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง  ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล  รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม ที่อยู่บนพื้นโลก  สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับ ตำแหน่งบนพื้นโลก  ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  23,300  กม.  เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder)  จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย   จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง  แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง  การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า  "สัญญาณอัปลิงก์"
(Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์ (Down-link)
              ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point)  หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast)  สถานีดาวเทียม 
1
ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง  25 เครื่อง   และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง  1 ใน ของพื้นผิวโลก  ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง  3  ดวงเท่านั้น 

            ระหว่างสถานีดาวเทียม  2  ดวง  ที่ใช้ความถี่ของสัญญาณเท่ากันถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณ ซึ่งกันและกันได้  เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน  หรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถี่ของสัญญาณดังนี้
1.             ระยะห่างกัน  4 องศา  (วัดมุมเทียงกับจุดศูนย์กลางของโลก)  ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ  4/6 จิกะเฮิรตซ์  หรือย่าน C แบนด์โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ  5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์  และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ  3.7-4.2 จิกะเฮิรตซ์
2.             ระยะห่างกัน  3 องศา  ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ  12/14  จิกะเฮิรตซ์  หรือย่าน KU แบนด์  โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ  14.0-14.5  จิกะเฮิรตซ์  และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ  11.7-12.2 จิกะเฮิรตซ์ 
             นอกจากนี้สภาพอากาศ เช่น ฝนหรือพายุ  ก็สามารถทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน
             สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นในแต่ละเครื่องทบทวนสัญญาณจะมีแบนด์วิดท์เท่ากับ  36  เมกะเฮิรตซ์  และมีอัตราเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ  50 เมกะบิตต่อวินาที
             ข้อเสีย ของการส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ  สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้  อีกทั้งยังมีเวลาประวิง
(Delay Time)  ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ  และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน  




Server

                  คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครือข่าย  มี 3 ความหมายคือ
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
  • ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
                     โดยปรกติแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น server จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ อาจจะเป็น Linux หรือ Windows หรือ Unix ก็ได้ ดังนั้นคำว่า server จึงมิได้หมายถึง คอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น server ถ้าพูดถึงเราคงรู้จักกันดี แต่อาจจะไม่รู้ว่าเรียกว่า server ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้
  • Web server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการเว็บ อาทิเช่น Apache web server
  • Mail server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ E-mail อาทิเช่น Postfix, qmail, courier
  • DNS server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการโดเมนเนม อาทิเช่น bind9
  • Database server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ database อาทิเช่น mysql, postgresql, DB2
สำหรับระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่
  • Linux สำหรับ Linux Distribution ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Debian Ubuntu Readhat Fedora etc.
  • Windows สำหรับ Windows ที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่ Windows Server 2003
  • Unix สำหรับ Unix ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่ระบบหนึ่ง ที่ยังใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ BSD

Web Server

          คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ ให้ บริการข้อมูลในรูปแบบสื่อผสมผ่านระบบเครือข่ายโดยสามารถแสดงผลผ่านโปรแกรมอินเตอร์เนตบราวเซอร์

     การใช้งาน Web Server
·         เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Firefox, Google chome
·         เครื่องไคลแอนท์จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป็นไอพีแอดเดรส
·         เครื่องไคลแอนท์ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปรกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
·         เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 อันดับแรก คือ
·         Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
·         Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์
·         Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์
·         Zeus Web Server จาก Zeus Technology
·         นอกจาก 4 ตัวนี้แล้วยังมี โปรแกรมอีกหมาลตัวที่นำมาทำ web server

 Mail server

        คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริกาีรรับส่งอีเมลให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่าย ทั้งจากในเครือข่ายเดียวกัน (LAN) หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อีเมลยอดฮิตอย่าง Hotmail ,Yahoo ก็ต้องมีเครื่อง Mail server โดยผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Web Mail client ลงในเครื่องเพราะจะเรียกผ่านweb browser เช่น IE ,Firefox คุณสมบัตินี้เราจึงสามารถจัดการกับอีเมลต่างๆที่้เข้ามาในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งโปรแกรม Web browser มาให้อยู่แล้ว

Domain Name Server (DNS)

 

 


Domain Name Server (DNS) คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNSแบ่งออกได้เป็น 3ส่วน คือ


Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client


Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก


Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative

File Server


เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์ โดยการจัดเก็บไฟล์จะทำเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Centerized disk storage) เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูล การ Restore ง่าย ข้อมูลดังกล่าวสามารถ Shared ให้กับ Client ได้ โดยส่วนมากข้อมูลที่อยู่ใน File Server คือ โปรแกรมและข้อมูล (Personal Data File) โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์ไม่มีหน้าที่ต้องประมวลข้อมูลเหล่านี้ เป็นเพียงแหล่งเก็บข้อมูล กล่าวง่ายๆ ก็คือ File Server ทำหน้าเสมือน Input/Output สำหรับไฟล์
        การทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น File Server นั้น ในทางเทคนิคแล้วยังไม่เรียกว่าเป็น "Client/Server" เพราะไม่มีการแบ่งโหลดการทำงานระหว่างไคลเอ็นต์กับเซิร์ฟเวอร์ แต่หน้าที่ที่ File Server จะต้องจัดการคือ มี NOS (Network Operating System) ที่ดูแลเกี่ยวกับการ "เข้าถึง" ไฟล์ ต้องมีกระบวน "Lock" ไว้ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการแก้ไขไฟล์ เช่น ขณะที่ผู้ใช้งานคนที่ 1 เปิด ไฟล์ A และกำลังแก้ไข (edit) อยู่ ผู้ใช้งานคนที่สองจะเปิดไฟล์ A เพื่อแก้ไขไม่ได้ (แต่เปิดเพื่ออ่าน Read Only ได้) แต่ถ้าหากข้อมูลนั้นเป็น Database แทนที่ไฟล์หรือฐานข้อมูลทั้งฐานข้อมูลจะถูก Lock กระบวนการ Lock ก็อาจจะเกิดเฉพาะ Record (Row) นี้เป็นหน้าที่ของ NOS และ Application ที่ใช้งาน

Print Server


         หนึ่งเหตุผลที่ต้องมี Print Server ก็คือ เพื่อแบ่งให้พรินเตอร์ราคาแพงบางรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานมากๆ เช่น HP Laser 5000 พิมพ์ได้ 10 - 24 แผ่นต่อนาที พรินเตอร์ประเภทนี้ ความสามารถในการทำงานสูง ถ้าหากซื้อมาเพื่อใช้งานเพียงคนเดียว แต่ละวันพิมพ์ 50 แผ่น ก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการจัดการแบ่งปันพรินเตอร์ดังกล่าวให้กับผู้ใช้ทุกๆคนในสำนักงาน หน้าที่ในการแบ่งปัน ก็ประกอบด้วย การจัดคิว ใครสั่งพิมพ์ก่อน การจัดการเรื่อง File Spooling เป็นของเซิร์ฟเวอร์ ที่มีชื่อว่า    Print Server  โดยส่วนใหญ่ในองค์กร น้อยองค์กรที่จะซื้อเซิร์ฟเวอร์มาเพื่อใช้สำหรับเป็น Print Server โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีเอาเซิร์ฟเวอร์ที่ซื้อมาเพื่อเป็น File Server , Data Base server ทำเป็น Print Server ไปด้วย

Database Server


   Database Server หมายถึง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไว้เพื่อรันระบบที่เป็นฐานข้อมูล DBMS (DataBase Managment System ) เช่น SQL , Informix เป็นต้น โดยภายในเซิร์ฟเวอร์ที่มีทั้งฐานข้อมูลและตัวจัดการฐานข้อมูล ตัวจัดการฐานข้อมูลในที่นี้หมายถึง มีการแบ่งปัน การประมวลผล โดยผ่านทางไคลเอ็นต์

Application Server
         Application Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่รันโปรแกรมประยุกต์ได้ด้วย โดยการทำงานสอดคล้องกับไคลเอ็นต์ เช่น Mail Server (รัน MS Exchange Server) Proxy Server (รัน Proxy Server) หรือ Web Server (รัน Web Server Program เช่น Xitami , Apache' )
Internet server
       โดยความหมายรวมๆ คือ การให้บริการต่างๆ ผ่านทางระบบเครือข่าย(network)ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ที่ฝั่งของ server
หากจะเจาะลึกไปอีกคงจะแบ่ง ตัวอย่างเช่นพวก
-  Web Server
-  POP3 Mail Server
-  DNS Server
- ฯลฯ


ส่วนในร้านอินเทอร์เน็ตค่าเฟ่ คงจะเป็นแบบ Server ภายใน
ที่เห็นชัดเจนเลยคือ LAN Server



ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)


เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย 


                                  
 เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
                   เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน


  เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
                เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม




         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น